การเขียน Script ASP.Net แบบ Code-Behind
ในการเขียน asp.net นั้นเราแบบรูปแบบการเขียนได้ 2 แบบคือ Inline-Code กับ Code-Behind ซึ่งในตอนนี้จะสอนเขียน แบบ Code-Behind ส่วนอีกแบบจะไว้ในบทความหน้า Code-Behind นั้นจะเขียนชุดคำสั่งไว้ในไฟล์ .vb หรือ .cs แล้วแต่ภาษาที่เราเขียนส่วนการแสดงผลจะอาศัยไฟล์ .aspx นั้นก็หมายความว่าเวลาคุณเขียนแบบ Code-Behind จะมีสองไฟล์คือไฟล์ .vb หรือ .cs และไฟล์ .aspx ที่ดีเรามาดูกันว่าการเขียนแบบ Code-Behind เขียนกันแบบไหน ขั้นแรกเราต้องทำการ Virtual Directory โดยให้ไปที่ Start – > Control Pannel ->Administrative Tools -> Internet Information จากนั้นคลิกขวาที่ Default Web Site แล้วเลือก new -> Virtual Directory
คลิก Next แล้วตั้งชื่อที่เราจะใช้เรียก หลังจากนั้นก็คลิก Next เพื่อเลือก Directory ที่จะเก็บ
จากนั้นก็คลิก Next จน Finish ที่นี้เราก็มาสร้าง Project เพื่อเขียน asp.net
เปิด Visual Studio ขึ้นมาแล้วก็ New Web Site แล้วทำการเลือกเป็นแบบ HTTP คลิก Browse
คลิกที่แถบทางซ้ายเป็น Local IIS จะเห็น Virtual Site เป็น Myasp ที่เราสร้างไว้แล้ว เมื่อเลือกเสร็จก็คลิก Open เหลืออีกอย่างที่ยังไม่เลือกคือ ภาษาในที่นี้ผมเลือกเป็น Visual Basic ครับ เมื่อกด OK เราก็จะได้ไฟล์ Default.aspx ให้เราคลิกขวาที่ localhost\myasp ในหน้าต่าง Solution Explore จากนั้นเลือก new item
จะได้หน้าดังรูปให้ตั้งชื่อไฟล์ myfirstpage.aspx ข้อสำคัญให้เลือกถูกที่ Place code in separate file เลือกภาษาเป็น Visual Basic เมื่อสร้างแล้วให้คลิกไปที่หน้า Design ให้ทำการสร้าง Label กับ Button ให้ทำการกำหนด Property ของ Label โดย ID = lblText ส่วน Button ให้ ID เท่ากับ btnCmd เมื่อกำหนดคุณสมบัติเสร็จแล้วให้ Double Click ที่ Button เหมือนเขียนโค้ดใน Visual Basic ธรรมดาแล้วทำการเพิ่มโค้ดนั้นนี้
[sourcecode language=”vb”]
Partial Class myfirstpage
Inherits System.Web.UI.Page
Protected Sub btnCmd_Click(ByVal sender As Object, ByVal e As System.EventArgs) Handles btnCmd.Click
lblText.Text = “My First Page”
End Sub
End Class
[/sourcecode]
เมื่อเขียนโค้ดเสร็จแล้วก็ทำการรัน ก่อนจะรันเราต้องแน่ใจว่า IIS ต้องรันอยู่แต่ถ้าไม่รันอยู่ให้ไปที่ Default Website คลิกขวา start
เมื่อแน่ใจแล้วว่า IIS รันก็ให้ทำการรัน asp โดยเลือกที่ ?Debug-> Start Without Debugging
ก็จะเปิดเว็บเพจขึ้นมาดังรูป
เมื่อคลิกที่ Button ก็จะมีข้อความขึ้นมา
จากโค้ดเราเห็นว่าจะเหมือนกับการเขียน Visual Basic โดยกำหนด Event เมื่อกด Button ก็ไปกำหนดข้อความให้ Label นั้นเอง ในตอนหน้าผมจะมาสอนการเขียนแบบ ?Inline-Code